สำนักงานสีเขียว (Green Office)

"รู้ใช้ รู้คุณค่ารู้รักษาพลังงาน"

สำนักวิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อเป็นต้นแบบอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนำไปสู่การรับรองมาตรฐานสำนักงานสีเขียว จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หมวดที่ 1

การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

หมวดที่ 2

การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก

หมวดที่ 3

การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

หมวดที่ 4

การจัดการของเสีย

หมวดที่ 5

สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

หมวดที่ 6

การจัดซื้อและจัดจ้าง

เกี่ยวกับ Green Office

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้จัดทำสำนักงานสีเขียว อาคารสำนักงานวิทยาเขตภูเก็ต เพื่อให้การดำเนินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีการพัฒนาศักยภาพการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานในมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ได้แก่ การจัดการของเสีย การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดการด้านต่างๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานสำนักงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมุ่งสู่การเป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office ) อย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยในการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว และโครงการ PSU Phuket Green Campus ของวิทยาเขตภูเก็ต

มาตรการการใช้ทรัพยากรและพลังงาน

คณะทำงานหมวดที่ 3 ได้มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานและทรัพยากรต่างๆของสำนักงานวิทยาเขตภูเก็ต เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสำนักงานวิทยาเขตภูเก็ต คณะทำงานหมวดที่ 3 จึงได้มีมาตรการเพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ให้บรรลุและประสบความสำเร็จ

ก. เครื่องปรับอากาศ

1. กำหนดเวลาเปิด ปิดเครื่องปรับอากาศ ตั้งแต่เวลา 09.30-11.30 น. และ 13.30-16.00 น. อุณหภูมิกำหนดที่ 26 องศาเซลเซียส
2. ปิดประตูห้องทุกครั้งที่เปิดเครื่องปรับอากาศ
3. ทำความสะอาดและดูดฝุ่น 3 เดือน/1 ครั้ง
4. ลดและหลีกเลียงการเก็บเอกสารหรือวัสดุอื่นใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสียและใช้พลังงาน
5. ปลูกต้นไม้รอบ ๆ อาคาร

ข. ไฟฟ้า/แสงสว่าง

  • ระบบ
      1. เลือกใช้อุปกรณ์แสงสว่างประสิทธิภาพสูง เปลี่ยนหลอดไฟจากเดิมมาเป็น หลอดไฟชนิด LED เพื่อช่วยในการประหยัดพลังงาน
      2. ลดความสว่างที่เกินความจำเป็น (Over Light Compensation) เช่น ปลดหลอดไฟออกบางหลอดในห้องทำงานออก
      3. ติดตั้งแผงสะท้อนหลอดไฟ
      4. ใช้แสงธรรมชาติ เปิดหน้าต่างและม่าน
      5. ติดตั้งสวิทซ์กระตุกเฉพาะจุด
  • คน
      1. ปิดไฟเมื่อพักเที่ยงหรือหลังใช้งาน
      2. ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกใช้งาน
      3. ทำความสะอาดหลอดไฟฟ้า ทุก ๆ 3-6 เดือน

ค. ตู้เย็น

1.ตั้งตู้เย็นห่างฝาผนัง อย่างน้อย 15 เซ็นติเมตร เพื่อระบายความร้อน

2. ทำความสะอาดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

3. หมั่นตรวจเช็คของแชในตู้เย็น และควรนำสิ่งของ/อาหาร ที่ไม่จำเป็นออกจากตู้เย็น

4. ไม่ควรนำของร้อนแช่ตู้เย็น และไม่เปิดตู้เย็นไว้เป็นเวลานาน

5. ละลายน้ำแข็งที่เกาะภายในตู้เย็น เมื่อนำแข็งเกาะเกินมาตรัฐาน

6. ควรหมั่นตรวจสอบขอบยางของตู้เย็นว่าขอบยางปิดสนิทหรือไม่

ง. เครื่องมือและอุปกรณ์สำนักงานอื่นๆ

1. ปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

2. เมื่อไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลา 1 ชั่วโมงขึ้นไป ให้ทำการ Sleep เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง

3. ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดหลังเลิกใช้งาน

1. ปิดก๊อกน้ำให้สนิทหลังเลิกใช้งาน ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้เมื่อไม่ได้ใช้งาน

2. เลือกใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ

3. ใช้หัวก๊อกน้ำที่มีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของน้ำ (ให้เปลี่ยนเมื่อมีการชำรุด)

4. ใช้ Sprinkler หรือฝึกบัวรดน้ำต้นไม้แทนการฉีดน้ำด้วยสายยาง และเปิด-ปิดให้เป็นเวลา

5. ทำการจดบันทึกปริมาณการใช้น้ำจากมิเตอร์วัดน้ำทุก ๆ สองสัปดาห์ เพื่อสังเกตความผิดปกติ

6. หมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเพื่อลดการสูญเสียอย่างเปล่าประโยชน์ เช่น การตรวจสอบก๊อกน้ำ ท่อน้ำ

เป็นต้น เมื่อพบการรั่วซึมให้รีบแจ้งซ่อมแซมทันที

7. มีการเปรียบเทียบการใช้น้ำต่อจำนวนของบุคลากรและผู้ใช้บริการ

ก. การใช้รถยนต์

1. การเดินทางไปปฏิบัติงานเป็นหมู่คณะ กรณีสถานที่เดียวกัน จังหวัดเดียวกัน ให้เดินทางไปพร้อมกัน (ไม่เกินจำนวนที่นั่ง)

2. การเดินทางไปปฏิบัติงาน หากเป็นเส้นทางเดียวกันให้ใช้รถร่วมกัน

3. ขับรถความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทางและเลือกใช้เส้นทางที่ใกล้ที่สุด

4. ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อจอดรถรอ เกิน 5 นาที

5. อนุญาตให้ใช้รถยนต์เพื่อประโยชน์ของทางมหาวิทยาลัยเท่านั้น

6. การให้บริการรับและส่งผู้ขอใช้บริการรถยนต์ จะต้องรับและส่งเฉพาะภายในวิทยาเขตภูเก็ต และเส้นทางผ่านเท่านั้น (ยกเว้นผู้บริหาร)

7. ทำสถิติการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์

8. บุคลากรที่มีภารกิจประชุม หรือปฏิบัติงานภายในวิทยาเขตภูเก็ต ให้ใช้วิธีการเดินแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว

9. ใช้การประชุมแบบ VDO Conference ในรูปแบบต่าง ๆ

ข. การบำรุงรักษา

1. ตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ตามระยะเวลาที่กำหนดให้อยู่ในสภาพที่ดี และปกติ เช่น การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามกำหนด, ตรวจสอบน้ำกลั่นในแบตเตอรี่, ตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำ เป็นต้น

2. ตรวจเช็คลมยางอย่างสม่ำเสมอ

3. ทำความสะอาดไส้กรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ

ก. มาตรการประหยัดกระดาษภายในสำนักงาน

1. เลือกซื้อและใช้กระดาษจากหน่วยงานที่ได้รับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมหรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. เศษกระดาษจากการพิมพ์หรือถ่ายเอกสารหน้าเดียว ให้ใช้เป็นกระดาษ reuse ต่อไป

3. ควบคุมปริมาณกระดาษที่ใช้ในการถ่ายเอกสาร และกำหนดแนวทางให้มีการถ่ายเอกสารเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานในสำนักงานเท่านั้น

4. ซองจดหมายต่าง ๆ ที่ใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ส่งเอกสารภายในสำนักงานหรือวิทยาเขต

5. ตรวจสอบรายละเอียดที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องก่อสั่งพิมพ์ เพื่อลดปริมาณขยะกระดาษ

6. ส่งข้อมูลข่าวสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลดการใช้กระดาษ

ข. มาตรการประหยัดหมึกพิมพ์

1. ใช้เครื่องพิมพ์ 1 เครื่องต่อ 1 งาน โดยจัดวางในพื้นที่ที่เหมาะสม และให้ใช้เครื่องพิมพ์ 1 เครื่องต่อ 1 ชั้น ของอาคาร โดยจัดวางในพื้นที่ส่วนกลางบริเวณภายนอกห้องทำงาน

2. ตรวจสอบรายละเอียดที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องก่อนสั่งพิมพ์ เพื่อลดการสิ้นเปลืองหมึกพิมพ์

3. กำหนดการสั่งพิมพ์เป็นแบบข้อความเท่านั้น เช่น การพิมพ์ผ่านโปรแกรม PowerPoint จะต้องตัด background รูปภาพออก เนื่องจากเป็นส่วนที่ไม่จำเป็น

4. ห้ามดึงสายฟออกในขณะที่ยังไม่ปิดเครื่องพิมพ์ เนื่องจากหัวพิมพ์จะยังไม่กลับไปเข้าที่เดิม จึงมีผลทำให้หัวพิมพ์อุดตันได้ง่ายและเครื่องก็จะเสียเร็วกว่าปกติ

5. จะต้องใช้งานเครื่องพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ หากไม่มีการใช้อย่างต่อเนื่อง จะต้องมีการพิมพ์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

ค. มาตรการประหยัดอุปกรณ์สำนักงาน

1. การเบิกวัสดุ ควรเบิก เฉพาะวัสดุที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และควรเบิกในปริมาณที่พอเหมาะและใช้ร่วมกันอย่างประหยัด เพราะวัสดุบางประเภทเมื่อเก็บไว้นาน ๆ จะเสื่อมสภาพได้

2. อุปกรณ์สำนักงาน เช่น กรรไกร คัตเตอร์ ที่เย็บกระดาษ เป็นต้น ให้เบิกใช้เป็นส่วนรวม เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้ส่วนบุคคล

ก. การเรียนเชิญและประชาสัมพันธ์การประชุม

1. ให้ช่องทางการแจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์การจัดประชุมผ่าน Social Network ได้แก่ Facebook กลุ่ม PSU Staff และ Line กลุ่มสำนักงานวิทยาเขตภูเก็ต Line กลุ่ม Green Office

2. เชิญผู้เข้าร่วมประชุมผ่านระบu E -document และ E-mail ซึ่งระบุการตอบรับให้ชัดเจน ผ่านช่องทางตอบรับนัดหมายในระบบ หรือ Line กลุ่ม

ข. การจัดเตรียมเอกสารประกอบการประชุม

1. ให้จัดส่งเอกสารประกอบการประชุม / วาระการประชุม โดยส่งผ่านทาง E-meeting / E-document หรือ E-mail และต้องแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมนำเอกสารมาในวันที่ประชุมเอง

2. จัดเตรียมทำเอกสารประกอบการประชุม โดยให้สรุปข้อมูลให้กระชับและได้ใจความ เพื่อสามารถดาวน์โหลดได้จากอินเตอร์เน็ต

3. หากจำเป็นต้องใช้กระดาษ ให้ใช้กระดาษ reuse จัดพิมพ์แบบสองหน้า และใช้สีขาวดำเท่านั้น

4. กรณีเอกสารประกอบการประชุมเป็นไฟล์ Powerpoint หากจำเป็นต้องจัดพิมพ์ ควรจัดพิมพ์แบบ 4-6 สไลด์/หน้า

ค. การจัดเตรียมสถานที่ และอุปกรณ์

1. จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมควรจัดเหมาะสมกับขนาดของห้องประชุม

2. เครื่องปรับอากาศใช้อุณหภูมิที่ 26 องศาเซลเซียส

ง. การจัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม

จัดทำข้อตกลงกับร้านค้าในการจัดเบรกและอาหารกลางวันให้ใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้

1. ให้ใช้บริการอาหารว่างและเครื่องดื่ม ตามมุมที่กำหนดไว้ในห้องประชุมสีเขียว เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมบริการตนเอง

2. น้ำจัดเตรียมใส่เหยือก พร้อมใช้แก้วเปล่า แทนการใช้ขวดพลาสติก

3. ส่งเสริมให้นำแก้วประจำตัวถือมาประชุมด้วย

4. กรณีจัดประชุมแบบเลี้ยงอาหารกลางวัน ไม่ใช้กล่องพลาสติก / โฟม เพื่อลดขยะ

5. ให้ใช้วัตถุดิบสำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นภาชนะคงทน และสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่แทนการใช้พลาสติก / โฟม

6. ใช้วัสดุธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ใบตอง กระดาษ

7. จัดเตรียมภาชนะแยกเศษอาหาร เครื่องดื่ม เพื่อสะดวกต่อการนำไปรีไซเคิลหรือกำจัดทิ้ง

จ. การจัดเตรียมอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการประหยัดพลังงาน และลดปริมาณขยะ

1. ปิดเครื่องฉาย LCD เมื่อไม่ใช้ หรือเปลี่ยนเป็น stand-by-mode

2. จัดเก็บอุปกรณ์ / เก้าอี้ ให้เรียบร้อยและรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานต่อไป

3. ปิดไฟฟ้า / เครื่องปรับอากาศทุกครั้งเมื่อเลิกประชุม

4. ปิดห้องประชุมและแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยของห้องประชุม

คณะกรรมการ Green Office

slide 1
slide 1
Image Slide 1
Image Slide 2
Image Slide 3
Image Slide 3
Image Slide 3
Image Slide 3
previous arrowprevious arrow
next arrownext arrow
Shadow

Why Choose Us

benefit 1

A short description of the benefit.

benefit 2

A short description of the benefit.

benefit 3

A short description of the benefit.

benefit 4

A short description of the benefit.

Client Testimonials

“A testimonial from a client who benefited from your product or service. Testimonials can be a highly effective way of establishing credibility and increasing your company's reputation.”
Client Name
“A testimonial from a client who benefited from your product or service. Testimonials can be a highly effective way of establishing credibility and increasing your company's reputation.”
Client Name
“A testimonial from a client who benefited from your product or service. Testimonials can be a highly effective way of establishing credibility and increasing your company's reputation.”
Client Name

A Title to Turn the Visitor Into a Lead

http://www.google.co.thUse this short paragraph to explain how you will deliver this benefit to the visitor if they decide to work with you.