นักวิจัย ม.อ.ภูเก็ตถ่ายทอดองค์ความรู้  นวัตกรรมการผลิตกระถางต้นไม้จากขยะมะพร้าวอ่อน และผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษอาหารด้วยถังหมัก

นักวิจัย ม.อ.ภูเก็ตถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมการผลิตกระถางต้นไม้จากขยะมะพร้าวอ่อน และผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษอาหารด้วยถังหมัก

นักวิจัย ม.อ.ภูเก็ตถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมการผลิตกระถางต้นไม้จากขยะมะพร้าวอ่อน และผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษอาหารด้วยถังหมัก

        จากการสำรวจรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นพบว่า เทศบาลเมืองกะทู้ มีปริมาณขยะที่ต้องส่งเข้าการจัดที่เตาเผาขยะวันละประมาณ 40 – 50 ตันต่อวัน และเป็นขยะประเภทเศษอาหารจากครัวเรือน ร้านอาหารและร้านค้าในตลาด ประมาณ 50-60% นอกจากนี้ยังพบว่าขยะผลมะพร้าวอ่อน มีปริมาณ 1 – 1.5 ตันต่อวัน ปริมาณขยะเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

นักวิจัยคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ณ โรงเรียนกะทู้วิทยา ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมการผลิตกระถางต้นไม้จากขยะมะพร้าวอ่อน และการผลิตปุ๋ยอินทร์จากเศษอาหารด้วยถังหมักขยะอินทรีย์
รองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ ชูดำ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา พร้อมทีมนักวิจัย ม.อ.ภูเก็ต ลงพื้นที่ จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการการผลิตกระถางต้นไม้จากขยะมะพร้าวอ่อน นอกจากนี้แล้วนักวิจัย ม.อ.ภูเก็ต โดยดร.วิลาสินี ศรีพรหม หัวหน้าโครงการ ผู้คิดค้นนวัตกรรมถังหมักขยะอินทรีย์ ได้อบรมเชิงปฏิบัติการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษอาหารด้วยถังหมัก ซึ่งเป็นอีก 1 นวัตกรรมของนักวิจัยคิดค้นขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการแยกขยะอินทรีย์ (ลดขยะที่ต้นกำเนิด) ในพื้นที่ และนำขยะอินทรีย์ประเภทขยะเศษอาหารจากครัวเรือน มาใช้ประโยชน์ด้วยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์โดยใช้ถังหมักพลาสติก ส่งเสริมและปลูกฝังจิตสานึกด้านการคัดแยกขยะในครัวเรือนให้กับนักเรียน
โครงการวิจัยนี้เป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะประยุกต์ใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้านการจัดการขยะเพื่อการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ ผ่านการผลิตผลิตภัณฑ์ “ปุ๋ยอินทรีย์จากขยะอินทรีย์” โดยใช้ถังหมักและมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหาร ผลมะพร้าวอ่อน และกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย