You are currently viewing นักศึกษา สถาปัตย์ ม.อ.ตรัง คว้า 3 รางวัลจากการประกวดวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ดีเด่นแห่งปี  เวที TOY ARCH 2023
นักศึกษา สถาปัตย์ ม.อ.ตรัง คว้า 3 รางวัลจากการประกวดวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ดีเด่นแห่งปี  เวที TOY ARCH 2023
  • Post published:August 9, 2023

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2566 นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง คว้า 2รางวัล จากการประกวดวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี  2023 ภายใต้โครงการ THESIS OF THE YEAR AWARD 2023 การประกวดวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ดีเด่นแห่งปี หรือ TOY arch 2023 จัดโดย สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระราชูปถัมภ์ เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์ที่มีสัมฤทธิ์ผลสูงสุด และเป็นเวทีสำหรับนักศึกษาแต่ละสถาบันในการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชน โดยประกาศผลการประกวดผ่านทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ TOY ARCH Thailand (@TOYARCHTHAILAND)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรกัญญา ง่วนสนสกุล คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย อาจารย์วิสุทธิ์ นุชนาบี และอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ร่วมผลักดันนักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ในการส่งผลงานเข้าประกวดวิทยานิพนธ์ดีเด่นแห่งปี 2566 สาขาสถาปัตยกรรมหลัก ภูมิภาคทักษิณ (TOY  Arch2022 ภาคใต้) โดยนักศึกษาที่ส่งผลงานเข้าร่วม ได้รับ 3 รางวัล ได้แก่ นายเอกฤทธิ์ แหมะจิ รับรางวัลที่ 1 รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นแห่งปี สถาปัตยกรรมหลัก รับถ้วยรางวัลและเงินรางวัล จำนวน 20,000 บาท  และรางวัลที่ 1 รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นแห่งปี สถาปัตยกรรมหลัก (ระดับภูมิภาค: ภาคใต้) ในผลงานชื่อ โครงการพื้นที่แสดงตัวตนคนปัตตานี จังหวัดปัตตานี PATTANI CIVIC SPACE, PATTANI รับถ้วยรางวัล และนางสาวนาเดีย เจ๊ะอุบล รับรางวัลที่ 3 รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นแห่งปี สถาปัตยกรรมหลัก (ระดับภูมิภาค: ภาคใต้) จากชื่อผลงาน ศูนย์กลางนวัตกรรมการรีไซเคิล THE RECYCLING INNOVATION HUB รับประกาศนียบัตร

ทั้งนี้ นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ได้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดเป็นประจำทุกปี โดยได้รับการสนับสนุนและคำแนะนำจากอาจารย์ในคณะ ส่งเสริมและผลักดันให้นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์และหาอัตลักษณ์ของตัวเองเพื่อพัฒนาความรู้ไปใช้ได้จริงในอนาคต