PSU BRAND IDENTITY

เพื่อให้ผู้คนได้ค้นพบวิถีแห่งความก้าวหน้าในแบบของตน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้วยวิชาการ วิชาชีพ และการใช้ชีวิตผ่านความเข้าใจอย่างลึกซึ้งจากพื้นที่จริงที่หลากหลาย พัฒนาเป็นการค้นคว้า วิจัย นวัตกรรม บริการทางวิชาการ ที่เป็นประโยชน์เพื่อชุมชนและสังคมโลก’ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งจากพื้นที่จริง เกิดจากการมี 5 วิทยาเขต ครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ ทำให้ผู้คนใกล้ชิดและเข้าใจกับภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมหลากหลาย มีทั้งภูเขา แม่น้ำ ป่า ทะเลสองฝั่ง จนภาคใต้กลายเป็นพื้นที่การเรียนรู้ วิจัย ซึ่งไม่ได้อยู่แค่ในเขตรั้วมหาวิทยาลัย

ระบบอัตลักษณ์ของ PSU

โลโก้ PSU (PSU Logo)

โลโก้ PSU เป็นสัญลักษณ์เพื่อใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง นำเสนอภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่มีหัวคิดก้าวหน้าและเป็นมิตร

โลโก้ PSU ประกอบด้วย ตัวอักษร PSU สีน้ำเงิน และ สัญลักษณ์ Navigation Maker สีฟ้า ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวของการเดินทาง โดยมี “จุดหมาย” และ “จุดเริ่ม” เป็นสิ่งยึดมั่น ให้ทิศทางผลักดันให้ลงมือ และไม่ย่อท้อกับทุกอุปสรรค ไม่ว่าจะเป็นสังคมแห่งการทำงาน วิจัย การคิดค้นนวัตกรรม และการเป็นที่พึ่งสังคมของมหาวิทยาลัยในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้น หรือโลกแห่งการค้นหาความฝัน การค้นพบศักยภาพตัวเอง การเรียนรู้ และการได้รับประสบการณ์จริงของนักศึกษาเพื่อพร้อมเผชิญกับชีวิตจริงของการทำงาน

โลโก้ PSU ใช้ในงานสื่อสาร สื่อประชาสัมพันธ์ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น บัตรประจำตัวนักศึกษา แผ่นพับ ป้ายโฆษณา เป็นต้น

ข้อความสนับสนุนภาพลักษณ์(Tagline)

เป็นคำที่แสดงออกถึงตัวตน และเป็นบทสรุปภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำหน้าที่ขยายความและสร้างการจดจำ
โลโก้ PSU รูปแบบมาตรฐาน ประกบคู่ข้อความสนับสนุนภาพลักษณ์(PSU Logo Tagline Lockup)

พื้นที่ว่างรอบโลโก้ PSU

การกำหนดพื้นที่ว่างรอบโลโก้ PSU แบบมาตรฐาน ต้องให้พื้นที่ว่างรอบโลโก้ทุกด้านเท่ากับ ½ ของความสูง P

สีอัตลักษณ์ (PSU Identity Colors)

สีอัตลักษณ์ PSU เป็นกลุ่มสีเฉดน้ำเงิน (Shades of Blue) แสดงถึงความพิเศษของมหาวิทยาลัยที่ประกอบรวมจากความหลากหลาย ที่นำไปสู่แนวคิดการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์จากการประสานมุมมองหลากมิติอย่างลึกซึ้ง สีอัตลักษณ์ PSU ประกอบด้วย 6 สีแบ่งเป็น


1.สีหลัก (Primary Colors) มี2 สีคือ PSU Deep Blue และ PSU Sky Blue
2.สีรอง (Secondary Colors) มี4 สีคือ PSU Ocean Blue, PSU Andaman Blue, PSU River Blue และ PSU Sritrang


     PSU Deep Blue

     100%



     80%


     60%


     40%


     20%

 

     Web :
     RGB 0 60 113   
     HTML #003C71

 

     Print:     
     CMYK 100 80 30 15

 

 


     PSU Sky Blue

     100%



     80%


     60%


     40%


     20%

     

     Web: 
     RGB 0 156 222
     HTML #009CDE

   

      Print :
      CMYK 70 15 0 0

 

 


     PSU Ocean Blue

     100%



     80%


     60%


     40%


     20%

     

     Web:
     RGB 58 93 174
     HTML #315DAE

   

     Print:
     CMYK 80 55 0 0
     

 

 


     PSU Andaman Blue

     100%



     80%


     60%


     40%


     20%

     

     Web:
     RGB 0 33 173
     HTML #0085AD

   

     Print:
     CMYK 85 20 20 0
     

 

 


     PSU River Blue

     100%



     80%


     60%


     40%


     20%

     

     Web: 
     RGB 89 203 232
     HTML #59CBE8

   

     Print:
     CMYK 60 0 10 0

 

 


     PSU Sritrang

     100%



     80%


     60%


     40%


     20%

     

     Web:
     RGB 182 184 220
     HTML #B6B8DC

  

     Print:
     CMYK 25 25 0 0

 

ลวดลายกราฟิก (Graphic Device)

ลวดลายกราฟิก “PSU Journey Route” ถ่ายทอดเรื่องราวของเส้นทางสู่ความสำเร็จ โดยมีจุดหมายเป็นที่ตั้ง และจุดเริ่มให้ลงมือทำ และเมื่อไปถึงจุดหมายที่ตั้งไว้แล้ว ก็จะมองหาจุดหมายใหม่ เพื่อเริ่มต้นเดินทางครั้งต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด นำพาตัวเอง ชุมชน และสังคม ไปสู่จุดที่ดียิ่งขึ้น ลวดลวยกราฟิกประกอบด้วย Journey Route สีน้ำ เงิน (PSU Deep Blue) และ Navigation Maker สีฟ้า (PSU Blue Sky) การใช้งาน สามารถนำไปต่อยอดทางการออกแบบสร้างสรรค์ได้ โดยต้องคงสัดส่วนระหว่างจุด Navigation Maker ระยะห่างและความหนาของเส้น Journey Route ให้ถูกต้องเสมอ ซึ่งกำหนดสัดส่วน ดังนี้

การใช้งาน สามารถนำไปต่อยอดทางการออกแบบสร้างสรรค์ได้ โดยต้องคงสัดส่วนระหว่างจุด Navigation Maker ระยะห่างและความหนาของเส้น Journey Route ให้ถูกต้องเสมอ ซึ่งกำหนดสัดส่วน ดังนี้

• ขนาดของเส้น Journey Route มีความหนาเท่ากับ 4/6 ของจุด Navigation Maker

• ระยะห่างระหว่างเส้น Journey Route กับจุด Navigation Maker เท่ากับ ½ ของจุด Navigation Maker


รูปแบบการใช้งานลวดลายกราฟิกกับหัวเรื่อง (Headline)

• การใช้งานลวดลายกราฟิกกับหัวเรื่อง สามารถออกแบบให้หัวเรื่อง ประกบคู่กับ Navigation Maker และกำ หนดให้ใช้เพียงตำ แหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเท่านั้น

• สามารถจัดวางตำ แหน่งใดก็ได้โดยต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และความสวยงามเป็นหลัก