ข่าวชาวสงขลานครินทร์

สงขลานครินทร์ ร่วมกับ THE และ อว. จัดสัมมนาหลักเกณฑ์ตัวชี้วัดการประเมินระดับนานาชาติ




    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ Times Higher Education (THE) และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดสัมมนา Thailand and South East Asia Masterclass เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธาน welcome from THE By Simone Dilena  President APAC พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา



    การจัดสัมมนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดสำหรับการประเมิน และวิธีการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบการประเมินคุณภาพในปีต่อไป โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ หน่วยงานด้านการอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคเอเชียเข้าร่วมงานจำนวน 37 สถาบัน โดยมีการบรรยายในหัวข้อ THE World University Rankings Methodology  By   Elizabeth Shepherd Managing Director, Consutancy และ Ashley Mok  Higher Education Consultant  หัวข้อ Reputation- methodology, data and best practice By Todd Hornal Regional Director APAC และหัวข้อ Internationalisation Analysis of the international outlook pillar โดย Elizabeth Shepherd Managing Director, Consutancy



    ข้อมูลมหาวิทยาลัยทั่วโลกและการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษา เป็นเครื่องมือสำคัญในการสะท้อนถึงความสามารถและการพัฒนามหาวิทยาลัย เป็นข้อมูลที่นักเรียนจากทั่วโลกใช้ในการเลือกสถาบันอุดมศึกษาที่อยากเข้าศึกษา นอกจากนี้ยังถูกใช้เป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพในระดับชาติที่สำคัญ และใช้สำหรับการติดตามและประเมินผลสำเร็จหรือพัฒนาการของการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ปี พ.ศ.2564 ซึ่ง Times Higher Education เป็นองค์กรที่ให้บริการด้านนี้ ที่น่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ และในปี 2565 ได้มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกกว่า 1,600 แห่งใน 99 ประเทศ และในประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในอันดับที่ดีที่สุด ติดอันดับ 601-800 ของโลก 17 สถาบัน รวมทั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Times Higher Education ยังเป็นที่ปรึกษาให้กับสำนักงานปลัดการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาตัวชี้วัดที่ใช้ในอันดับมหาวิทยาลัยโลก และเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นของสถาบันการศึกษา อีกด้วย