อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. จัดสัมมนา “ปลดล็อกมหา’ลัย ขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรมไทย”
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงานประชุมสัมมนา “ปลดล็อกมหา’ลัย ขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรมไทย สู่เป้าหมาย 1,000 x 1,000 ร่วมสร้างมูลค่าเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านบาท (ภาคใต้)” โดยได้รับเกียรติจาก ดร. สิริพร พิทยโสภณ รองผู้อำนวยการ สอวช. เป็นประธานในพิธีเปิด และมี รศ. นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน ณ ห้อง Sky Blue อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (จังหวัดสงขลา) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567
ภายในงานมีการบรรยาย ในหัวข้อ "นโยบายและกฎหมายด้านการปลดล็อคระบบนิเวศเพื่อส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมไทย" โดย ดร. สิริพร พิทยโสภณ รองผู้อำนวยการ สอวช. การบรรยาย หัวข้อ "กฎหมาย กฎ ระเบียบ ด้านการปลดล็อกระบบนิเวศเพื่อส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมไทย" โดย นางสาวนิรดา วีระโสภณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สอวช. การบรรยาย หัวข้อ “การจัดตั้งและดำเนินการ University Holding Company” โดย คุณราเมศวร์ ศิลปะพรหม ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซอฟต์สแควร์ 1999 จำกัด, CEO บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด, ผู้อำนวยการ CU Innovation HUB และผู้ร่วมก่อตั้ง CU Engineering Enterprise
พร้อมทั้งมีการเสวนา ในหัวข้อ “การส่งเสริม Startup/Spin-Off จากงานวิจัยและนวัตกรรม” โดย ผศ. ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ ผศ. คำรณ พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ ดร. ธีรพงศ์ ยะทา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมวิจัยและผู้ประกอบการ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้ก่อตั้งบริษัท นาอีฟ อินโนว่า จำกัด และกรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีเมียร์ อินโนว่า จำกัด และนางสาวมนันยา ชุณหวุฒิยานนท์ ผู้อำนวยการฝ่าย สอวช. ดำเนินการเสวนาโดย นายอานนท์ ตานะเศรษฐ ผู้เชี่ยวชาญนโยบาย สอวช.
ทั้งนี้ สอวช. เล็งเห็นถึงความสำคัญของ University Holding Company เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในระบบนิเวศนวัตกรรม ที่จะช่วยเพิ่มจำนวนบริษัทเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation-Driven Enterprise) ของไทย สอวช. จึงส่งเสริมให้มีการร่วมลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมโดยกลไก University Holding Company ผ่านการออกนโยบายและระเบียบต่าง ๆ และเพื่อเผยแพร่สาระสำคัญของนโยบาย แนวปฏิบัติและระเบียบดังกล่าว รวมถึงเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและระบบนิเวศ ส่งเสริมผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมในภาพรวมต่อผู้บริหารและบุคลากรจากสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัยของรัฐ หน่วยงานอื่น ๆ และผู้เกี่ยวข้องในส่วนภูมิภาคของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ