ข่าวชาวสงขลานครินทร์

ม.อ. ร่วมประชุมเครือข่ายวิชาการไทย-เยอรมัน พร้อมลงนามความร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์




มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำโดย ผศ. ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการโครงการเครือข่ายวิชาการไทย-เยอรมัน และลงนามบันทึกข้อตกลง Letter of Intent Exploring Synergies: Kick-off Meeting for the Thai - German Academic Network Project พัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันและอนาคต การเกษตร สัตวศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์องค์ความรู้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม ณ ห้องประชุมสิริคุณากร 3 ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 67 ที่ผ่านมา




การจัดงานประชุมครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญ เป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นร่วมกันต่อนวัตกรรมและความก้าวหน้า เป็นสัญญาณแสดงถึงการพัฒนาในการเปลี่ยนแปลง และนวัตกรรมด้านการแพทย์ สุขภาพ เกษตรกรรม เทคโนโลยีการแพทย์ การเกษตร วิศวกรรมศาสตร์ และสัตวศาสตร์ อันเป็นสาขาที่สำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตมนุษย์และสังคม ในด้านต่าง ๆ สาขาเหล่านี้เป็นแรงผลักดันสำคัญในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อความเป็นอยู่ที่ดีของโลก และการรับมือกับความท้าทายในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเป็นการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญระดับโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้แก่อาจารย์ นักวิจัย และแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึก ตลอดจนพัฒนากลยุทธ์ที่สามารถเพิ่มผลกระทบเชิงบวกของเทคโนโลยีทางการแพทย์ การเกษตร วิศวกรรม และสัตวศาสตร์ต่อสังคม ที่สำคัญการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะมีส่วนช่วยเพิ่มคุณค่าทางวิชาการตลอดจนสร้างความร่วมมือทางวิชาการ และรากฐานการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ




ทั้งนี้ ยังมีการลงนามหนังสือแสดงเจตจำนงด้านการเกษตรและสัตวศาสตร์ (Signing Ceremony Letters of Intent in Agriculture and Animal Sciences) ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เกี่ยวกับความร่วมมือในสาขาและหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เช่น นวัตกรรมด้านการแพทย์ สุขภาพ เกษตรกรรม เทคโนโลยีการแพทย์ การเกษตร วิศวกรรมศาสตร์ และสัตวศาสตร์ มีการประเมินความเป็นไปได้และประโยชน์ของการร่วมมือกัน ระหว่าง 4 มหาวิทยาลัย ในนามเครือข่ายวิชาการไทย-เยอรมัน ความร่วมมือนี้จะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อความเป็นอยู่ที่ดีของโลก และการรับมือกับความท้าทายในยุคปัจจุบันและในอนาคต

ขอบคุณภาพและข่าวจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น