ข่าวชาวสงขลานครินทร์

ม.อ.สุราษฎร์ฯ ร่วมกับ ไทยเซ็นทรัลเคมี ส่งเสริมเกษตรกร ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันสู่มาตรฐานสากล




มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี โดย คณะนวัตกรรมการเกษตรและประมง และศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) เปิดโครงการส่งเสริมความรู้เกษตรกร เรื่อง การเพิ่มผลผลิตปาล์ม เพื่อถ่ายทอดความรู้การปลูกปาล์มน้ำมัน และการจัดการธาตุอาหารอย่างถูกวิธีให้กับเกษตรกร โดยมีนายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธาน และมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 600 คน ณ โรงแรมบรรจงบุรี จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 66 ที่ผ่านมา



ภายในงานดังกล่าวยังมีการลงนามความร่วมมือ ระหว่าง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี กับ บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) โดย รศ. สุชาดา ทิพย์มนตรี รองอธิการบดีวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี นายสมรัก ลิขิตเจริญพันธ์ เจ้าหน้าที่บริหารและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านธุรกรรมการค้า ร่วมลงนาม


 
นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายให้ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์โดยตรง ได้แก่ รศ.ดร.ธีรศักดิ์ ปั้นวิชัย อาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งคณะนวัตกรรมการเกษตรและประมง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการปาล์มน้ำมันแห่งชาติ, การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการธาตุอาหารปาล์มน้ำมัน โดย คุณตริน พงษ์เภตรา ประธานอุตสาหกรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ รศ. ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ดินและพืช 




การเสวนาเรื่อง “พันธุ์ปาล์ม การจัดการสวนปาล์ม การกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน การเข้าสู่มาตรฐานต่าง ๆ ตามมาตรฐานสากลเพื่อการส่งออกปาล์มน้ำมัน” โดย คุณวิชนีย์ ออมทรัพย์สิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปาล์มจังหวัดสุราษฎร์ธานี คุณบรรเจิด เนตรมณี รองประธานกลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน (RSPO) สหกรณ์นิคมพนม จำกัด และ รศ. ดร.วิกันดา รัตนพันธ์ อาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งคณะนวัตกรรมการเกษตรและประมง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ดำเนินรายการ โดย คุณนารากร ติยายน ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์



ทั้งนี้ เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวจะได้รับความรู้ในการเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน โดยนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติจริงในพื้นที่เกษตรของตนเอง เช่น เลือกใช้พันธุ์ปาล์มที่มีผลผลิตสูง การดูแลรักษาแปลงปลูกให้เหมาะสม การให้ปุ๋ยที่ถูกต้อง การจัดการโรคและแมลงที่เป็นอันตรายต่อปาล์ม และการให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสมตามความต้องการของพืช นอกจากนี้ อาจจะมีเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มผลผลิต เช่น การใช้ระบบการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลในการจัดการแปลงปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อปรับปรุงกระบวนการการเพิ่มผลผลิตในเครือข่ายการเกษตรของปาล์มน้ำมันได้ด้วย