ข่าวชาวสงขลานครินทร์

ม.อ. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมาลายา และ มหาวิทยาลัยไซน์มาเลเซีย จัดประชุมวิชาการนานาชาติ ขับเคลื่อนงานวิจัยด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ภูมิภาคมลายู




มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายูและมลายูศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันมลายูศึกษามหาวิทยาลัยมาลายา (Academy of Malay Studies, Universiti Malaya) และสำนักภูมิปัญญาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยไซน์มาเลเซีย (Secretariat of Local Knowledge, Universiti Sains Malaysia) จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในภูมิภาคมลายู ครั้งที่ 1 The 1st International Conference on Local Wisdom in the Malay Archipelago, Subtheme: Creativity and Sustainability (Collega 2023) ภายใต้หัวข้อ “Creativity and Sustainability” โดยมี ผศ. ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย ผศ. ดร.เชิดชัย อุดมพันธ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ ผศ. ดร.นุมาน หะยีมะแซ หัวหน้าโครงการ Prof. Dr. Mohd Kipli Bin Abdul Rahman จาก Universiti Teknologi Mara Malaysia Assoc. Prof. Dr. A.S. Hardy Shafii จาก Universiti Sains Malaysia และ Assoc. Prof. Dr. Indriawati Zahid จาก University of Malaya ร่วมเปิดงาน ณ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อระหว่างวันที่ 11-13 พ.ย. 66 ที่ผ่านมา





ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก Prof. Dr. Farok Zakaria จากศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (Former Director of UMK Language Centre and Generic, Development, and Former Director of UMK International Office) ร่วมบรรยายพิเศษพร้อมแนะนำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและภูมิวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย





การจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในภูมิภาคมลายู ครั้งที่ 1 ในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการจัดพื้นที่ทางวิชาการระหว่างประเทศ (Learning Space) และริเริ่มเครือข่ายทางสังคมเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริม รักษา และเสริมสร้างการพัฒนาและความยั่งยืนของภูมิปัญญาท้องถิ่นของกรอบพื้นที่ภูมิภาคมลายู เสริมสร้างพื้นที่การวิจัย นวัตกรรม และสิ่งพิมพ์ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับนักวิจัยในการอภิปรายผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และบทความวิจัยจากการประชุมและสามารถนำไปตีพิมพ์เป็นผลงานวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนความเป็นสากลของมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียนในเวทีโลก นักศึกษาและชุมชนวิชาการสามารถมีปฏิสัมพันธ์ในบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ที่คาดว่าจะสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานร่วมกันในการสอน การเรียนรู้ และการวิจัยในการประชุมวิชาการนานาชาติ





ทั้งนี้ มีผู้ส่งบทความเข้าร่วมนำเสนอจำนวน 105 บทความ แบ่งกลุ่มบทความที่นำเสนอ เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Local Wisdom of Health and Wellness กลุ่ม Local Wisdom of Science and Innovation กลุ่ม Local Wisdom of Culture and Arts และกลุ่ม Local Wisdom and Preservation