รายละเอียดหลักสูตร

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร)

โครงการจัดตั้งคณะนวัตกรรมการเกษตรและประมง วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

สาขา / วิชาเอก :

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

ชื่อปริญญา (ภาษาไทย) :

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร)

ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) :

Master of Science Program in Agricultural Science and Technology

ลักษณะการเรียน-การสอน :

ภาคปกติ (เรียนจันทร์-ศุกร์)

แผนการศึกษา
ชื่อแผน จำนวนหน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษา(ปี)
ทั้งหมด วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ รายวิชาเรียน
แผน ก แบบ ก1 36 36 0 2
แผน ก แบบ ก2 36 18 18 2

จุดเด่น/เอกลักษณ์ของหลักสูตร :

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มวิชา

        (1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางพืช 
        (2) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางสัตว์ 
        (3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจุลินทรีย์

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร เน้นการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร ด้านพืชและสัตว์เศรษฐกิจของประเทศไทย รวมถึงการนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์ มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร ตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัยและเกษตรยั่งยืน
การวิจัยมุ่งเน้นโจทย์วิจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การปรับปรุงพันธุ์ เทคโนโลยีชีวภาพ การจัดการทางการเกษตร เน้นพืชและสัตว์ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้ผลภาคใต้ ไม้เศรษฐกิจ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน พืชพลังงาน พืชสมุนไพร พืชประจำถิ่น การผลิตสัตว์เศรษฐกิจ การผลิตอาหารสัตว์ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์ในด้านการผลิตอาหารสัตว์ การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ การผลิตชีวภัณฑ์ และการควบคุมโรคและแมลงด้วยชีววิธี 

ได้รับการรับรองมาตรฐาน :

สกอ. 

คุณลักษณะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา :

1. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ เช่น นักวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร นักวิชาการเกษตรสาขาพืช นักวิชาการกรมปศุสัตว์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่ประจาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
2. อาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน
3. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาคเอกชน เช่น นักวิชาการประจาโรงงานผลิตอาหารสัตว์และ นักวิชาการประจาห้องปฏิบัติการบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์พืช นักสัตวบาลประจาฟาร์ม เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขายและการผลิต เจ้าหน้าที่ประจาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
4. ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงไก่ สุกร โคเนื้อ โคนม และสัตว์เศรษฐกิจอื่นๆ ผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตร เป็นต้น
5. เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) หมายถึงเกษตรกรรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม สมัยใหม่มาประยุกต์ใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการบริหารจัดการ

โอกาสในการทำงาน :

ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ

รัฐวิสาหกิจ

บริษัท / เอกชน

ประกอบธุรกิจส่วนตัว

ตัวอย่างอาชีพ :


keyword : วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยีการเกษตร, นวัตกรรมการเกษตร, เกษตรศาสตร์, วิทยาศาสตร์เกษตร, SCIENCE, Agricultural Technology, Agriculture, Agricultural Innovation, Agricultural Science