ประวัติวิทยาเขต

มหาวิทยาลัยได้เริ่มโครงการขยายการศึกษามายังจังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งแต่ปี 2533 โดยเริ่มตั้งแต่การจัดตั้งคณะทำงานศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คณะทำงานเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีศักยภาพด้านต่าง ๆ สูงเหมาะสมที่จะจัดตั้งสถานศึกษาระดับสูงรองรับการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ประกอบกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีเอง โดยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเอกชน ได้ให้ความสนับสนุนอย่างจริงจัง โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีจึงพัฒนาได้โดยเร็ว ซึ่งอาจสรุปลำดับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาได้ดังนี้


ปี พ.ศ. 2533


 

มหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการขยายการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ตลอดจนคณะทำงานด้านวิชาการ ด้านการจัดหาที่ดิน และคณะกรรมการจัดหาทุน

สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติในหลักการให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขยายงานไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2533

 

 

จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้อนุมัติให้ใช้อาคารสโมสรจังหวัดสุราษฎร์ธานี บริเวณศาลาประชาคม เป็นสำนักงานชั่วคราวของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2533


โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก โดยใช้หลักสูตรวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว มีนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 40 คน และได้เปิดทำการเรียนเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2533 ทบวงมหาวิทยาลัยพิจารณาเห็นชอบให้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานีที่จังหวัด สุราษฏร์ธานี ในปีงบประมาณ 2536 ตามหนังสือที่ ทม 0204/25300 ลงวันที่ 19 กันยายน 2533 
ปี พ.ศ. 2534


 

 

รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อการขยายงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปีงบประมาณ 2534 ในวงเงิน 1 ล้านบาท และได้สนับสนุนงบประมาณต่อเนื่องในปีต่อมาในส่วนของงบดำเนินการ และงบประมาณสำหรับการก่อสร้างอาคารสำนักงานและอาคารเรียนการจัดการ


ปี พ.ศ. 2535


 

 

เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจและสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

 


ปี พ.ศ. 2536


 

 

สภามหาวิทยาลัย ได้พิจารณาเห็นชอบให้จัดตั้งหน่วยงานที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในระยะแรก 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และ วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี

 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้อนุมัติให้มหาวิทยาลัยใช้ประโยชน์ที่ดินป่าสงวนแห่งชาติเพื่อการจัดตั้งวิทยาเขตตามคำขอ จำนวน 2 แปลง คือ ป่าเขาท่าเพชร อำเภอเมือง จำนวน 440 ไร่ และป่าทุ่งใสไช อำเภอไชยา จำนวน 4,000 ไร่ ป่าบางเบา - คลองเซียด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 6,300 ไร่



ปี พ.ศ. 2537


 

 

ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี เมื่อ 2 สิงหาคม 2537 นับเป็นหน่วยงานแรกที่มีการจัดตั้งที่วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี


ปี พ.ศ. 2538


 

 

คณะรัฐมนตรีมีอนุมัติในหลักการให้มีการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็น 1 ใน 11 วิทยาเขตที่ได้รับการอนุมัติจากการประชุมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2538

 

 

จัดการศึกษาระดับปริญญาโทร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ สาขาบริหารการศึกษาและประถมศึกษา



ปี พ.ศ. 2539


 

 

คณะรัฐมนตรีมีอนุมัติให้วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เป็นวิทยาเขตสารสนเทศตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาคเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2539


คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีเป็นวิทยาเขตสารสนเทศ พร้อมทั้งปรับเปลี่ยน 3 หลักสูตร คือ สาขาโรงแรมและการท่องเที่ยว สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอนุปริญญา 
ปี พ.ศ. 2542


 

 

สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ความเห็นชอบ หลักสูตรผลิตกรรมชีวภาพ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542

 

 

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เปิดรับนักศึกษาปริญญาตรี ในสาขา ผลิตกรรมชีวภาพรุ่นแรกจำนวน 42 คน ในปีการศึกษา 2542


ปี พ.ศ. 2544


 

 

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีได้เปิดการสอนระดับปริญญาตรี คือ สาขาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม (การจัดการอุตสาหกรรม การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม และการจัดการอุตสาหกรรมชีวภาพ)รุ่นแรก


ปี พ.ศ. 2545


 

 

สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความเห็นชอบหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิทยาการจัดการ และเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกรวม 71 คน ในปีการศึกษา 2545


16 ก . ย .2545 สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ความเห็นชอบจัดตั้งคณะเทคโนโลยีและการจัดการ 
ปี พ.ศ. 2546


 

 

สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบกรอบปรัชญาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมยาง โดยรับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 77 คน ในปีการศึกษา 2547
6 ก . ย .2546 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้มีการใช้พื้นที่ของเขตการศึกษาสุราษฎร์ธานีที่ทุ่งใสไชอำเภอไชยา สำหรับมหาวิทยาลัยมหิดลในการดำเนินการจัดตั้งศูนย์เพาะเลี้ยง สายพันธุ์กุ้ง 
ปี พ.ศ. 2547


สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อนุมัติให้ใช้ชื่อ “ เขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี ” แทนโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และอนุมัติเห็นชอบแผนพัฒนาเขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี พ . ศ .2547-2554
ปี พ.ศ. 2548


 

 

สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ความเห็นชอบหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาธุรกิจเกษตร สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และสาขาธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรับนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 48 คน ในปีการศึกษา 2548


สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เห็นชอบการแบ่งโครงสร้างสำนักงานเขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี
สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เห็นชอบการมีสำนักงานคณะเทคโนโลยีและการจัดการ 
สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เห็นชอบการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์