
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดกิจกรรมวันมหิดลและวันประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ในวันที่ 24 กันยายน 2563 โดยได้ริเริ่มจัดวันประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2552 ปีนี้เป็นการจัดกิจกรรมครั้งที่ 11 เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จฯ พระบรมราชชนก “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”
กิจกรรมเริ่มด้วยการพวงมาลา ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนก วิทยาเขตหาดใหญ่ ของคณะ หน่วยงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานกล่าวถวายราชสดุดี และเป็นประธานในพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก







นิทรรศการพระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ระหว่างวันที่ 17-24 กันยายน 2563 ณ อาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
![]() |
การบรรยายพิเศษ “ประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” โดยนายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ศิษย์เก่าคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ โกวิทยา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา และศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบเกียรติบัตรและเงินรางวัลผู้ที่อุทิศตน เสียสละ และบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น ได้แก่
![]() |
แพทย์ผู้อุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงพรพรรณ ศรีพรสวรรค์ สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์การพัฒนาและการวิจัยการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดในภาคใต้ให้แก่ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง และระดมช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กมะเร็งสมทบ “กองทุนเพื่อการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด” มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และได้จัดตั้งเครือข่ายการรักษาและบริการเคมีบำบัดผู้ป่วยมะเร็งเด็กภาคใต้ เพื่อรับภาระในการดูแลผู้ป่วยใน 14 จังหวัดภาคใต้ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงพรพรรณ ศรีพรสวรรค์ กล่าวว่า แพทย์โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ได้ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดหรือไขกระดูกให้กับผู้ป่วยเด็กแล้วจำนวน 45 คน อายุระหว่าง 2-15 ปี ผู้ป่วยแต่ละรายต้องใช้งบประมาณรายละนับล้านบาท จึงจำเป็นต้องมี “กองทุนเพื่อการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด” เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในระยะยาว
บุคคลผู้อุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น ได้แก่ นายกิตติศักดิ์ นาคกุล ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านห้วยทราย อ.นาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งทำตัวเป็นแบบอย่าง เช่น การคัดแยกขยะ และใช้กลยุทธ์การได้ค่าตอบแทนจากการจัดการขยะ หรือการทำอาชีพเสริมทำให้มีรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น เมื่อชาวบ้านเห็นถึงความตั้งใจ เห็นผลงาน ทำให้ยอมรับ และให้ความร่วมมือช่วยทำงานในลักษณะกรรมการหมู่บ้านที่เข้มแข็งด้วยจิตอาสา และช่วยกันพัฒนาหมู่บ้านจนต่อมาได้รับการพัฒนาและสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานของภาครัฐทำให้หมู่บ้านบ้านห้วยทราย เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับอำเภอ และจัดสวัสดิการ ในรูปแบบต่าง ๆ สร้างอาชีพ สร้างรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 5,000 – 10,000 บาท/ครอบครัว






