การส่งข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ในโทรศัพท์มือถือ การแชร์ การเขียนโดยการประชดประชัน ความเผอเรอ จากความเครียด จากอารมณ์ อาจส่งผลร้ายโดยไม่รู้ตัว ทั้งจำคุกทั้งถูกปรับ
กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย คณะกรรมการ 5 ส.และวิชาการ ให้ความรู้กับบุคลากร ของมหาวิทยาลัย เรื่องพระราชบัญญัติความผิดทางคอมพิวเตอร์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์มงคล มาลยารม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฏหมาย และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานอธิการบดี เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 มีข้อที่ควรระวังในการเขียนและส่งข้อมูลในคอมพิวเตอร์ดังนี้
1. การเขียนเล่นๆทางFace book ทางกฎหมายถือว่าเป็นแสดงเจตจำนง เพราะในfacebook มีการระบุชื่อ ผู้โพสต์ ทั้งที่อาจกระเซ้า เย้าแหย่ ประชด ประชัน เช่น การยกเลิกหนี้สินให้ คนอื่นอาจจะรู้หรือไม่ รู้ หรือผู้รู้กฎหมาย ชี้แนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายของตน
ดังตัวอย่าง คำพิพากษา ฎีฏาที่ 6757/260 ข้อความที่โจทย์ส่งถึงจำเลยทาง facebook มีใจความว่า เงินทั้งหมดจำนวน 670,000 บาท นั้น จำเลยไม่ต้องส่งคืนให้โจทก์แล้ว และไม่ต้องส่งดอกเบี้ยอะไรมาให้อีก โจทก์ยกให้ทั้งหมด จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว ทั้งที่เจ้าหนี้โพสต์ โดยไม่มีเจตนาระงับหนี้ แต่ได้กระทำไปเพราะเครียดและต้องการประชด ประชัน ข้อความที่โจทก์ส่งถึงจำเลยทางfacebook แม้จะไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์ก็ตาม แต่การส่งข้อความของโจทก์ทางfacebook ก็จะปรากฎชื่อของผู้ส่งด้วย และโจทย์ยอมรับว่าได้ส่งข้อความทางfacebook จริง ข้อความสนทนาใน facebook รับฟังได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลย หนี้ตามสัญญาจึงระงับ
2. การคอมเมนท์ใน facebook การแชท ในคอมพิวเตอร์ ถือเป็นความผิด คดีหมิ่นประมาทซึ่งหน้า เป็นภาษากฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องประจันหน้ากันจริงๆ
จากคำพิพากษาฎีกาที่3529/2547 ผู้เสียหายถูกบุคคลนิรนาม โพสต์ถ้อยคำซึ่งเข้าข่ายหมิ่นประมาทลงในอินเตอร์เน็ต ผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความกับตำรวจเพื่อสืบหา IPและค้นหาตัวผู้กระทำผิด จนรู้ตัวผู้ว่าเป็นใคร และในที่สุดศาลก็ได้ตัดสินว่าบุคคลนั้นมีความผิดในคดีหมิ่นประมาททางอาญา มาตรา 328 จำนวน 5 กระทง จำคุกกระทงละ 3 เดือน ปรับกระทงละ 10,000 บาท รวมจำคุก 15 เดือน ปรับ 50,000 บาท
3. การส่งเมลล์ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ที่ผู้รับไม่สามารถแจ้งยกเลิกหรือปฎิเสธได้ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฎิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000บาท
4. การแชร์ต่อ ทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือเสียหายต่อความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ ของประเทศชาติ การนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมทั้งหมดหรือบางส่วน โดยประการที่จะน่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน น่าจะเกิดความเสียหายในทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกของประชาชน มีความผิดตามมาตรา 5 ต้องระวางคุก ทั้งจำทั้งปรับ
5. ผู้ใดดักรับฟังข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ที่มีประโยชน์เพื่อสาธารณะ เพื่อให้ผู้ใดได้ใช้ประโยชน์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. การนำเข้าข้อมูลที่มีภาพลามก อันอาจเข้าถึงประชาชนทั่วไปมีความผิด ( การส่งส่วนตัวไม่เป็นไร) แต่ถ้าส่งแล้วแชร์ต่อในfacebook หรือไลน์กลุ่ม มีความผิด ต่อ พ.ร.บการนำเข้าสู่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทีมีลักษณะลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนอาจเข้าถึงได้
7. กรณีโพสต์ดูหมิ่นหรือตัดต่อภาพผู้ตาย ทำให้ญาติ สามี บุตร อับอาย ถูกเกลียดชัง เสียหาย มีความผิดต้องระวางโทษ
8. การตัดต่อภาพ ทำให้ผู้อื่นถูกดูหมิ่น ได้รับความอับอาย ต้องโทษจำคุกไม่เกิน ปรับไม่เกิน 200,000 บาท ถ้าผู้เสียหายตายก่อนร้องทุกข์ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร สามารถฟ้องร้องได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มงคล มาลยารม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย ยังให้ความรู้กฎหมายใหม่เรื่องการค้ำประกันว่า ปัจจุบันผู้ค้ำประกันรับผิดชอบเฉพาะวงเงินจำกัดที่ระบุใว้ในสัญญาอย่างชัดเจน ไม่ต้องรับผิดชอบแทนผู้ที่เราค้ำประกันทั้งหมด เหมือนในอดีต


