รายละเอียด



ม.อ.ปัตตานี รับมอบเรือกู้ภัย WI-FI ผลงานความสำเร็จของ บพท.-มนร. ในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก้ปัญหาภัยพิบัติในพื้นที่



ผศ.ดร.อัตชัย เอื้ออนันตสันต์ รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม วิทยาเขตปัตตานี นายจาตุรนต์ เอี่ยมโสภา คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะผู้บริหาร บุคลากร ม.อ.ปัตตานี ร่วมรับมอบเรือกู้ภัย Wi-Fi รับมือภัยพิบัติแก้ไขปัญหาอุทกภัย และฟื้นฟูชีวิตครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นพื้นที่ (บพท.) มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) โดยมี ดร.ยรรยง สุรัตน์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์  ผศ.สมเกียรติ สุทธิยาพิวัฒน์ หัวหน้าโครงการวิจัย “การยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนประมงพื้นบ้านเกาะปูลาโต๊ะบีซูจังหวัดนราธิวาส เพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่แก่ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากเศรษฐกิจฐานรากสู่มูลค่าเชิงพาณิชย์”  และอาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์โดยการสนับสนุนของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) และทีมงาน เป็นตัวแทนส่งมอบ  เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567.

อาจเป็นรูปภาพของ 6 คน, เรือคายัค และ ข้อความ
อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน, โทรศัพท์ และ ข้อความ

จากนั้นได้ทดลองใช้เรือกู้ภัย Wi-Fi ในสถานการณ์จริง ณ บริเวณคลองสหัสวรรษ (คลอง 200 ปี) ม.อ.ปัตตานี โดยมี ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม วิทยาเขตปัตตานี  ผศ.ดร.วรภาคย์ ไมตรีพันธ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม วิทยาเขตปัตตานี   ผศ.ดร.สมพร ช่วยอารีย์  ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และ ว่าที่ร้อยตรีนูรุดดีน มูลทรัพย์ หัวหน้างานรักษาความปลอดภัย กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นอาสาสมัครทดลองการใช้เรือกู้ภัย Wi-Fi ในครั้งนี้

อาจเป็นรูปภาพของ 6 คน และ ข้อความ
.อาจเป็นรูปภาพของ 3 คน, โทรศัพท์ และ ข้อความ

ผศ.สมเกียรติ สุทธิยาพิวัฒน์ หัวหน้าโครงการวิจัย ฯ เปิดเผยว่า เรือกู้ภัย Wi-Fi เป็นผลงานที่เกิดจากการบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อของหน่วยงานในสังกัด อว. คือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นพื้นที่ (บพท.) มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) โดยการสนับสนุนของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ซึ่งเป็นความสำเร็จของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีจากภูมิปัญญานักวิชาการไทย ในการจัดการภัยพิบัติ  โดยเรือกู้ภัย Wi-Fi เป็นเรือที่ต้นทุนไม่สูง การใช้งานไม่ซับซ้อน ดูแลรักษาง่าย และมีคุณลักษณะพิเศษของเรือท้องแบนที่สามารถใช้งานได้ในพื้นที่น้ำตื้น 20-30 เซ็นติเมตร สามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้ 40 กิโลกรัม การติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมโยงสัญญาณ Wi-Fi ในรัศมีไม่เกิน 30 เมตร มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด มีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ต่อเนื่องกัน 4-6 ชั่วโมง มีอุปกรณ์เก็บประจุไฟฟ้าจากระบบโซลาร์เซลล์ ที่สามารถจ่ายไฟสำหรับชาร์จโทรศัพท์มือถือได้ 12 เครื่อง พร้อมกับชุดสวิตซ์เซฟตี้ เพื่อความปลอดภัย ตอบโจทย์การใช้ไฟฟ้าช่วงน้ำท่วม ซึ่งมีภาวะติดขัดเรื่องการจำหน่ายไฟฟ้า ให้สามารถสื่อสารกับผ่านนอกได้

อาจเป็นรูปภาพของ 6 คน, รถบริการ และ ข้อความ

ที่มาของเรือกู้ภัย Wi-Fi เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้จนเร่งด่วนจากผล กระทบภัยพิบัติในพื้นที่ภาคใต้ โดยบูรณาการร่วมกันของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เรื่องภัยพิบัติแก้ไขปัญหาอุทกภัย และฟื้นฟูชีวิตครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง และเมื่อเร็ว ๆ นี้ยังถูกนำไปใช้ช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยอีกด้วย ทั้งนี้ การบูรณาการระบบเทคโนโลยีเข้ากับเรือกู้ภัย Wi-Fi เป็นการยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาและปรับใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาในระดับประเทศอีกด้วย

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ขอขอบพระคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งมอบเรือกู้ภัย wifi ในครั้งนี้เป็นอย่างสูง และจะนำเรือกู้ภัย wifi ท ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน ตามวัตถุประสงค์ของการมอบในครั้งนี้
 

                                                                                                                                                                                                        ภาพ/ข่าวได้ที่เพจ  psupattanicampus