รายละเอียดข่าว


ม.อ.ปัตตานี ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และ ศอบต. เชื่อมสัมพันธภาพคณะทูตกลุ่มประเทศ OIC หนุนเสริมความร่วมมือพัฒนาศักยภาพด้านเศรษฐกิจ และการศึกษา แก่สังคมสามจังหวัดชายแดนใต้




    นที่ 12 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น. ณ อุทยานการเรียนรู้ยะลา (TK Park ยะลา) ผศ.ดร.บดินทร์  แวลาเตะ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ วิทยาเขตปัตตานี ผศ.ดร.มูหัมมัดรอฟลี  แวหะมะ คณบดีคณะวิทยาการอิสลาม พร้อมด้วย อาจารย์นันทิดา กูลเกื้อ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ร่วมกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจและสานสัมพันธ์คณะทูตกลุ่มประเทศมุสลิม (OIC) ประจำปี 2567 เพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่นโยบายรัฐบาลและการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับส่วนกลางและในระดับพื้นที่ อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือกับนานาชาติ ในการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม และการศึกษา ซึ่งจัดโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดขายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ มีคณะทูตลงพื้นที่ในครั้งนี้ ประกอบด้วย เอกอัครราชทูตและผู้แทนต่างประเทศประจำประเทศไทย จำนวน 8 ประเทศ ได้แก่ เอกอัครราชทูตบรูไน เอกอัครราชทูตอียิปต์ เอกอัครราชทูตอิหร่าน อุปทูตประเทศมาเลเซีย มัลดีฟ ไนจีเรีย รองหัวหน้าสำนักงานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย และรองหัวหน้าสำนักงานสถานกงสุลใหญ่อุซเบกิสถาน

    ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรม การบรรยายสรุปภาพรวมเชิงนโยบายและการดำเนินงานของหน่วยงานทั้งในมิติความมั่นคงและมิติการพัฒนา  กิจกรรมพบปะพูดคุยระหว่างคณะทูตกลุ่มประเทศ OIC กับกลุ่มสถาบันการศึกษาของสามจังหวัดชายแดนใต้ ทั้ง 4  สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยฟาฏอนี และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  ในส่วนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นั้น ได้นำเสนอหลักสูตรและภารกิจที่ดำเนินร่วมกันกับกลุ่มประเทศ OIC ที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร.บดินทร์ แวลาเตะ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ วิทยาเขตปัตตานี และอาจารย์นันทิดา กูลเกื้อ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี   ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จะได้มีส่วนร่วมขับเคลื่อนภารกิจด้านการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมสินค้าฮาลาล  เนื่องด้วย ม.อ.ปัตตานี มีหน่วยงานที่สนับสนุนทักษะด้านภาษา เช่น ศูนย์ภาษา ม.อ.ปัตตานี  หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี และหลักสูตรภาษาต่างๆ จากคณะหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงมหาวิทยาลัย มีหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการหนุนเสริมด้านเศรษฐกิจส่งเสริมการผลิตภัณฑ์และพัฒนาสินค้าฮาลาล ออกสู่ตลาดกลุ่มประเทศมุสลิม (OIC) เช่น  สถาบันฮาลาล เป็นต้น จากนั้นคณะทูต ฯ และผู้ร่วมงาน ได้เยี่ยมชมบูธจัดแสดงผลิตภัณฑ์ฮาลาล กว่า 27 บูธ ของพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ด้วย บูธของพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ด้วย

                                                                                                                                                                                          ภาพบรรยากาศได้ที่เพจ psupattanicampus