SCImago จัดอันดับสงขลานครินทร์ อันดับ 1 ใน 2 สาขาวิชาโดดเด่น และเป็นอันดับ 7 มหาวิทยาลัยในไทย ปี 2025
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีผลงานวิจัยและความสามารถในการเผยแพร่ผลงานวิชาการบนฐานข้อมูล Scopus ในระดับนานาชาติ โดยอยู่ในอันดับ 7 ของมหาวิทยาลัยชั้นนำในไทย อันดับ 377 ของเอเชีย และอันดับ 3,255 ของโลก ซึ่งมี 2 สาขาวิชาโดดเด่น ติดเป็นอันดับ 1 ในไทย ได้แก่ สาขาวิชา Oceanography และ Ocean Engineering จัดอันดับโดย SCImago Institutions Ranking (SIR) 2025
SCImago Institutions Ranking (SIR) ยังได้จัดให้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีคะแนนด้านการวิจัย Research Rank อยู่ในอันดับ 7 ของประเทศ และอันดับ 3,523 ของโลก คะแนนด้านนวัตกรรม Innovation Rank อยู่ในอันดับ 10 ของประเทศ และอันดับ 4,961 ของโลก ในส่วนคะแนนทางด้านสังคม Societal Rank อยู่ในอันดับ 7 ของประเทศ และอันดับ 2,038 ของโลก นอกจากนั้น เมื่อแยกเป็นรายสาขาวิชาแล้ว ยังพบว่ามีหลายสาขาวิชาที่มีคุณภาพอยู่ในอันดับต้นของประเทศไทย ได้แก่
สาขาวิชาหลัก จำนวน 19 สาขา ประกอบด้วย
สาขา Social Sciences อันดับ 4 ในไทย และอันดับ 857 ของโลก
สาขา Agricultural and Biological Sciences อันดับ 5 ในไทย และอันดับ 608 ของโลก
สาขา Pharmacology, Toxicology and Pharmaceutics อันดับ 5 ในไทย และอันดับ 1,213 ของโลก
สาขา Business, Management and Accounting อันดับ 6 ในไทย และอันดับ 948 ของโลก
สาขา Dentistry อันดับ 6 ในไทย และอันดับ 380 ของโลก
สาขา Medicine อันดับ 6 ในไทย และอันดับ 1,116 ของโลก
สาขา Psychology อันดับ 6 ในไทย และอันดับ 1,521 ของโลก
สาขา Computer Science อันดับ 7 ในไทย และอันดับ 1,410 ของโลก
สาขา Economics, Econometrics and Finance อันดับ 7 ในไทย และอันดับ 1,095 ของโลก
สาขา Physics and Astronomy อันดับ 7 ในไทย และอันดับ 1,134 ของโลก
สาขา Veterinary อันดับ 7 ในไทย และอันดับ 442 ของโลก
สาขา Arts and Humanities อันดับ 8 ในไทย และอันดับ 1,087 ของโลก
สาขา Chemistry อันดับ 8 ในไทย และอันดับ 1,391 ของโลก
สาขา Engineering อันดับ 8 ในไทย และอันดับ 1,553 ของโลก
สาขา Environmental Science อันดับ 8 ในไทย และอันดับ 1,257 ของโลก
สาขา Mathematics อันดับ 8 ในไทย และอันดับ 1,524 ของโลก
สาขา Earth and Planetary Sciences อันดับ 10 ในไทย และอันดับ 1,379 ของโลก
สาขา Biochemistry, Genetics and Molecular Biology อันดับ 11 ในไทย และอันดับ 1,439 ของโลก
สาขา Energy อันดับ 12 ในไทย และอันดับ 1,620 ของโลก
และสาขาวิชาย่อย จำนวน 27 สาขา ประกอบด้วย
สาขาย่อย Oceanography อันดับ 1 ในไทย และอันดับ 267 ของโลก
สาขาย่อย Ocean Engineering อันดับ 1 ในไทย และอันดับ 465 ของโลก
สาขาย่อย Building and Construction อันดับ 2 ในไทย และอันดับ 340 ของโลก
สาขาย่อย Critical Care and Intensive Care Medicine อันดับ 3 ในไทย และอันดับ 444 ของโลก
สาขาย่อย Education อันดับ 3 ในไทย และอันดับ 684 ของโลก
สาขาย่อย Gastroenterology อันดับ 3 ในไทย และอันดับ 606 ของโลก
สาขาย่อย Geography, Planning and Development อันดับ 3 ในไทย และอันดับ 651 ของโลก
สาขาย่อย Pulmonary and Respiratory Medicine อันดับ 3 ในไทย และอันดับ 617 ของโลก
สาขาย่อย Cardiology and Cardiovascular Medicine อันดับ 4 ในไทย และอันดับ 744 ของโลก
สาขาย่อย Ecology, Evolution, Behavior and Systematics อันดับ 4 ในไทย และอันดับ 620 ของโลก
สาขาย่อย Food Science อันดับ 4 ในไทย และอันดับ 332 ของโลก
สาขาย่อย Psychiatry and Mental Health อันดับ 4 ในไทย และอันดับ 1,061 ของโลก
สาขาย่อย Aquatic Science อันดับ 5 ในไทย และอันดับ 543 ของโลก
สาขาย่อย Obstetrics and Gynecology อันดับ 5 ในไทย และอันดับ 650 ของโลก
สาขาย่อย Pediatrics, Perinatology and Child Health อันดับ 5 ในไทย และอันดับ 813 ของโลก
สาขาย่อย Surgery อันดับ 5 ในไทย และอันดับ 810 ของโลก
สาขาย่อย Animal Science and Zoology อันดับ 6 ในไทย และอันดับ 330 ของโลก
สาขาย่อย Civil and Structural Engineering อันดับ 6 ในไทย และอันดับ 567 ของโลก
สาขาย่อย Industrial and Manufacturing Engineering อันดับ 6 ในไทย และอันดับ 1,309 ของโลก
สาขาย่อย Oncology อันดับ 6 ในไทย และอันดับ 787 ของโลก
สาขาย่อย Radiology, Nuclear Medicine and Imaging อันดับ 6 ในไทย และอันดับ 879 ของโลก
สาขาย่อย Sociology and Political Science อันดับ 6 ในไทย และอันดับ 1,203 ของโลก
สาขาย่อย Plant Science อันดับ 7 ในไทย และอันดับ 548 ของโลก
สาขาย่อย Public Health, Environmental and Occupational Health อันดับ 7 ในไทย และอันดับ 1,255 ของโลก
สาขาย่อย Infectious Diseases อันดับ 8 ในไทย และอันดับ 1,074 ของโลก
สาขาย่อย Biomedical Engineering อันดับ 9 ในไทย และอันดับ 1,289 ของโลก
สาขาย่อย Mechanical Engineering อันดับ 12 ในไทย และอันดับ 2,043 ของโลก
SCImago Institutions Ranking (SIR) แบ่งเกณฑ์ในการพิจารณาจากผลงาน 3 ด้าน ประกอบด้วย
1.ด้านงานวิจัย (Research) 50% โดยจะประกอบไปด้วยจำนวนเอกสารทางวิชาการ วารสาร งานวิจัย จำนวนการอ้างอิง จำนวนผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิชาการและผลงานวิจัยของสถาบันนั้น ๆ โดยอ้างอิงผลข้อมูลจาก Scopus
2.ด้านนวัตกรรม (Innovation) 30% จะเป็นในด้านความรู้ที่เป็นนวัตกรรม สิทธิบัตร หรือผลงานตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์จากสถาบันที่อ้างถึงในสิทธิบัตร โดยพิจารณาข้อมูลมาจาก PATSTAT (Patent Statistical Database)
3.ด้านสังคม (Societal) 20% จะพิจารณาจาก ขนาดของเว็บ จำนวนหน้าเว็บที่เชื่อมโยงกับ URL ของสถาบัน จำนวนเครือข่าย (subnets) ที่เชื่อมโยงการเข้าถึงกับเว็บไซต์ของสถาบันนั้น และปริมาณเอกสาร และข่าวสารต่างๆ ของสถาบันที่เผยแพร่อยู่ใน social media
โดยการคำนวณคะแนน จะนับจาก 5 ปีย้อนหลังจนถึง 2 ปีก่อนปีที่จัดอันดับ เช่น ปีที่จัดอันดับปี 2024 ข้อมูลทั้งหมดที่จะนำมาคำนวณจะดูจากตั้งแต่ปี 2018 - 2022 เป็นต้น อีกทั้งในช่วง 5 ปี (เช่น ปี 2018 - 2022) ที่นำมาคำนวณในปีสุดท้าย ต้องมีผลงานตีพิมพ์อย่างน้อย 100 ผลงาน
ทั้งนี้ SCImago Institutions Ranking (SIR) เป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ได้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับรวมสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล สถาบันวิจัย เป็นต้น ซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยรวมทั้งสถาบันวิจัยในแง่ของความสามารถในการเผยแพร่ผลงานวิชาการทุกประเภทของสถาบัน หรือมหาวิทยาลัยบนฐานข้อมูล Scopus โดยในปี 2025 มีองค์กรที่ได้รับการจัดอันดับโลกรวม 9,756 แห่ง เป็นสถาบันการศึกษา 5,051 แห่ง สถาบันการศึกษาของไทยที่ได้รับจัดอันดับในปีนี้ มีเพียง 33 แห่ง