อธิการบดี และทีมผู้บริหาร ร่วมแสดงความยินดีกับนักวิจัย ม.อ. คว้ารางวัลระดับชาติ ปี 2568
ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วยผู้บริหาร ร่วมแสดงความยินดีกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลระดับชาติ ประจำปี 2568 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.ม.) ครั้งที่ 12/2567 ในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ณ ห้องประชุม 210 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
รศ. นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ในปีนี้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รวมทั้งสิ้น 25 ผลงาน และได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน ประกอบด้วย ปี 2566 ศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล, ปี 2567 ศาสตราจารย์ ดร.เบญจมาส เชียรศิลป์ และปี 2568 ศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ไชยประพันธ์
ทั้งนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้พิจารณารางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ และประกาศผลการพิจารณารางวัล เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 จำนวน 5 ประเภท ได้แก่ 1. รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2568 2. รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2568 3. รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2568 4. รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2568 5. รางวัลผลงานคุณภาพ ประจำปี 2568
โดยรางวัลในลำดับที่ 1 - 4 จะเข้ารับพระราชทานเกียรติบัตรรางวัลการวิจัยแห่งชาติ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 (งานวันนักประดิษฐ์แห่งชาติ ประจำปี 2568) โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ รายละเอียดดังนี้
1. รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2568
ศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ไชยประพัทธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย)
2. รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2568 จำนวนทั้งสิ้น 3 รางวัล ประกอบด้วย
รางวัลระดับดีมาก : 1 รางวัล
ผลงานวิจัยเรื่อง “เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อพัฒนาการผลิตพลังงานชีวภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” โดย ศาสตราจารย์ ดร.เบญจมาส เชียรศิลป์ และคณะนักวิจัยคณะอุตสาหกรรมเกษตร (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
รางวัลระดับดี : 2 รางวัล
1) ผลงานวิจัยเรื่อง “การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มดิบหีบรวมด้วยไฮโดรโซนิกคาวิเตชัน” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤช สมนึก คณะวิศวกรรมศาสตร์ (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย)
2) ผลงานวิจัยเรื่อง “เซนเซอร์ชีวภาพที่อาศัยเอนไซม์เร่งปฏิกิริยาที่ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้าในตัวเอง และอุปกรณ์พลังงานขนาดเล็ก โดยใช้วัสดุขั้นสูงและการพิมพ์สกรีน เพื่ออุปกรณ์ที่ยืดหยุ่นและสวมใส่ได้” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิพล จีระพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย)
3. รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2568 จำนวน 1 รางวัล ดังนี้
รางวัลระดับดี : วิทยานิพนธ์เรื่อง “ความผิดปกติทางเมแทบอลิก และดัชนีสุขภาพของหลอดเลือดในผู้ป่วยอายุน้อยที่มีเบาหวานแบบผสมระหว่างชนิดที่ 1 ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์นพดล เกียรติศิริโรจน์ คณะแพทยศาสตร์ สำเร็จการศึกษาจาก University of Leeds, สหราชอาณาจักร (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
4. รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2568 จำนวนทั้งสิ้น 7 รางวัล ประกอบด้วย
รางวัลระดับดีมาก : 1 รางวัล
1) ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมจากยางพาราเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ และคณะนักวิจัยคณะแพทยศาสตร์ (สาขาสังคมวิทยา)
รางวัลระดับดี : 3 รางวัล
1) ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “ชุดคัดเลือกอสุจิสำเร็จรูปโดยเทคโนโลยีไมโครฟลูอิดิกส์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัยณรงค์ โชคสุชาติ และคณะนักวิจัยคณะแพทยศาสตร์ (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
2) ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “นวัตกรรมถุงมือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19” โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ และคณะนักวิจัยคณะแพทยศาสตร์ (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
3) ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “หุ่นจำลองจากยางธรรมชาติสำหรับฝึกผ่าตัดกระดูกขากรรไกรและการเย็บเหงือก” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นิธินาถ แซ่ตั้ง และคณะนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ (สาขาการศึกษา)
รางวัลประกาศเกียรติคุณ : 3 รางวัล
1) ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “ผสานวิทย์ผสมศิลป์ในงานอนุรักษ์ภูมิปัญญาการสร้างพระเครื่องเนื้อผง” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ เพ็งดำ และคณะนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ (สาขาปรัชญา)
2) ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “ห้องแสดงจักรวาลจำลองแบบโต้ตอบได้เพื่อการเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยวัฒน์ เลิศวิริยะนันทกุล และนายมนูญ อ่องทวีสุข คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาเขตปัตตานี (สาขาการศึกษา)
3) ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “ชุดการศึกษาเคมีไฟฟ้าอัจฉริยะ” โดย ศาสตราจารย์ ดร.วรากร ลิ่มบุตร และคณะนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ (สาขาการศึกษา)