ข่าวชาวสงขลานครินทร์

คณะวิทย์ ม.อ. จัดประชุม The 13th IMT-GT UNINET นำเศรษฐกิจ BCG เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์




    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม The 13th IMT-GT UNINET BIOSCIENCE International Conference 2022 ในหัวข้อ “เศรษฐกิจ BCG สู่ SDGs เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์” (BCG Economy towards SDGs for the Benefit of Mankind) ระหว่างวันที่ 8-9 ธันวาคม 2565 ที่โรงแรมบีพีสมิหลาบีช สงขลา โดยผู้เข้าร่วมประชุมเป็นนักวิชาการจากสถาบันการศึกษา ภาครัฐและภาคเอกชนจากประเทศเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และจากเครือข่ายอื่นๆ ทั่วโลก 250 คน เพื่อแลกเปลี่ยนและหารือเกี่ยวกับการวิจัย นวัตกรรม และความก้าวหน้าของรูปแบบเศรษฐกิจ BCG เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีการบรรยายที่น่าสนใจของวิทยากร 6 ท่าน ประกอบด้วย

  • ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • Dato' Ir. Dr. A. Baker Jaafar, PEng, FIEM, FASc   Vice President, Academy of Science Malaysia, Malaysia
  • Prof. Dr. Ir. Marwan   Rector of Universitas Syiah Kuala, Indonesia
  • Prof. Dr. Lene Lange  BioEconomy, Research & Advisory, Copenhagen, Denmark
  • Prof. Dr. Wei Zhang   Research Director, Marine Bioproducts CRC Inaugural President, Australia New Zealand Marine Biotechnology Society Director, Centre for Marine Bioproducts Development (CMBD), and College of Medicine and Public Health, Flinders University, Australia
  • Dr. Mushtaq Ahmed Memon   Regional Coordinator for Resource Efficiency United Nations Environment Programme (UNEP), Asia Pacific Regional Office

    The 13th IMT-GT UNINET BIOSCIENCE International Conference 2022 เป็นการประชุมระดับนานาชาติที่จัดขึ้นโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยในเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย หรือ IMT-GT UNINET ซึ่งการจัดงานในปีนี้ จัดภายใต้หัวข้อ “เศรษฐกิจ BCG สู่ SDGs for the Benefit of Mankind” เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green (BCG) เพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDG)  ซึ่ง IMT-GT เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพที่สุดในโลก การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่ม IMT-GT จะส่งผลต่อความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ ความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์และสังคม

    ผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมสามารถดูรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์ imtgt2022.sci.psu.ac.th